วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การบัญชีเบื้องต้น1



เพื่อให้

            1.  มีความเข้าใจหลักการ วิธีการ และขั้นตอนการจัดทำบัญชีสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ประเภท ธุรกิบริการ
            2.  มีทักษะปฏิบัติงานบัญชีเบื้องต้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียวประเภทธุรกิจบริการ

           3.   มีกิจนิสัย  ความมีระเบียบ  ละเอียดรอบคอบ  มีวินัยตรงต่อเวลา และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี


ในวันสิ้นงวดบัญชีหลังจากการบันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไปซึ่งเป็นสมุดรายวันขั้นต้นและผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทแล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือการปิดบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงิน

การปิดบัญชีหมายถึง การโอนยอดคงเหลือของบัญชีที่ต้องการปิดไปไว้ที่บัญชีใหม่ โดยให้ยอดคงเหลือของบัญชีที่โอนมียอดคงเหลือมาบันทึกในบัญชีใหม่ และรวมถึงการทำให้ยอดรวมของด้านเดบิตเท่ากับยอดรวมด้านเครดิตของแต่ละหมวดบัญชี หรือแสดงยอดรวมเป็นศูนย์


1. บัญชีชั่วคราว เป็นการปิดบัญชีที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานของแต่ละงวดบัญชีได้แก่ บัญชีรายได้และบัญชีค่าใช้จ่่าย รวมถึงบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
2. บัญชีถาวร เป็นการปิดบัญชีที่แสดงข้อมูลที่มีลักษณะสะสมต่อเนื่องตลอดรอบระยะบัญชี จนกว่าจะเลิกกิจการ ได้แก่ บัญชีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของซึ่งเป็นบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ



                                                                         สมุดรายวันทั่วไป
หน้า.......
พ.ศ.............


รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต
เครดิต
เดือน
วันที่


















































































1. เพื่อปิดบัญชีชั่วคราว และสรุปผลการดำเนินงานสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
2. เพื่อโอนผลการดำเนินงานไปยังส่วนของเจ้าของหรือบัญชีทุนของกิจการ
3. เพื่อเตรียมบันทึกบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปหรือเมื่อเริ่มงวดบัญชีใหม่

รายการปิดบัญชี  หมายถึง การบันทึกปิดยอดคงเหลือของบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปเข้าบัญชีกำไรขาดทุน ณ วันสิ้นงวดเพื่อโอนปิดบัญชีผลต่างของบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุน


1.   ปิดบัญชีรายได้โอนเข้าบัญชีกำไรขาดทุน บันทึกบัญชีโดย
เดบิต  รายได้ (ระบุชื่อบัญชี)                    + +
            เครดิต  กำไรขาดทุน                           +  +                            
( โอนปิดบัญชีรายได้ต่างๆเข้าบัญชีกำไรขาดทุน )
2.   ปิดค่าใช้จ่ายโอนเข้าบัญชีกำไรขาดทุน   บันทึกบัญชีโดย
เดบิต  กำไรขาดทุน                              + +
            เครดิต  ค่าใช้จ่าย (ระบุชื่อบัญชี)            + +                              
(ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆเข้าบัญชีกำไรขาดทุน )
3.  ปิดบัญชีกำไรขาดทุนโอนเข้าบัญชีทุน  มี 2 กรณีคือ
ก. กรณีกำไรสุทธิ
    เดบิต  กำไรขาดทุน                         + +
            เครดิต  ทุน                                     + +
( ปิดบัญชีกำไรขาดทุนโอนเข้าบัญชีทุน )
ข. กรณีขาดทุน
เดบิต  ทุน                                     + +
            เครดิต  กำไรขาดทุน                         + +
    ( ปิดบัญชีกำไรขาดทุนโอนเข้าบัญชีทุน )       
4. ปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวเข้าบัญชีทุน  บันทึกบัญชีโดย
เดบิต  ทุน                                    + +
            เครดิต  ถอนใช้ส่วนตัว                     + +                              
( ปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวโอนเข้าบัญชีทุน )

ตัวอย่าง  การปิดบัญชีชั่วคราวจากงบทดลองของร้านสมจิตการช่าง
          
ร้านสมจิตการช่าง
งบทดลอง
วันที่  31  มีนาคม  2554

เงินสด
ลูกหนี้
วัสดุ
เครื่องมือ
เจ้าหนี้ – ร้านสมจิต
เงินกู้ – ธนาคาร
ทุน – สมจิต
ถอนใช้ส่วนตัว
รายได้ค่าซ่อมเครื่องไฟฟ้า
ค่าเช่า
เงินเดือน
ค่ารับรอง
ค่าไฟฟ้า

เลขที่บัญชี
101
102
103
104
201
202
301
302
401
501
502
503
504

เดบิต
63,000
-
4,000
16,000





15,000

5,000
5,000
1,000
2,000

113,500
เครดิต





6,000
30,000
60,000


17,500






          113,500         




2554
ธ.ค.31  Dr. รายได้ค่าซ่อมเครื่องไฟฟ้า         401          17,500                                                Cr. กำไรขาดทุน       303                17,500
        ปิดบัญชีรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

-                  หลังจากการปิดชั่วคราวได้แก่บัญชีในหมวดรายได้ ได้แก่ บัญชีรายได้ค่าซ่อมเครื่องไฟฟ้า ซึ่งมียอด
ทางด้านเครดิตเมื่อปิดบัญชีจะมียอดทางด้านเดบิต จำนวน 17,500 บาท  ปิดเข้าบัญชีกำไรขาดทุนด้วยยอดที่เท่ากันทางด้านเครดิตจำนวน 17,500  บาท  ซึ่งทำให้ยอดในบัญชีรายได้ค่าซ่อมเครื่องไฟฟ้าทั้ง 2 ด้าน มียอดเท่ากัน ไม่มียอดคงเหลือ(แสดงยอดดุลเป็นศูนย์) โดยยอดที่ปิดไปจะเข้าไปอยู่ในบัญชีกำไรขาดทุน(ซึ่งเป็นบัญชีที่เปิดขึ้นใหม่)   17,500 บาท ทางด้านเครดิตจำนวน  17,500   บาท 
2554
ธ.ค.31  Dr. กำไรขาดทุน          303           13,000
                        Cr. ค่าเช่า     501                              5,000
      เงินเดือน     502                           5,000
      ค่ารับรอง    503                          1,000
      ค่าไฟฟ้า     504                            2,000
        ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
-                  ปิดบัญชีในหมวดค่าใช้จ่าย  ได้แก่ บัญชีค่าเช่าจำนวน  5,000  บาท บัญชีเงินเดือนจำนวน   5,000  บาท
บัญชีค่ารับรองจำนวน 1,000 บาท บัญชีค่าไฟฟ้าจำนวน  2,000  บาท มียอดทางด้านเดบิตเมื่อปิดบัญชีจะบันทึกบัญชีทางด้านเครดิตทุกบัญชี  ซึ่งยอดรวมของค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่ากับ 13,000 บาท ได้แก่บัญชีค่าเช่าจำนวน  5,000  บาท บัญชีเงินเดือนจำนวน   5,000  บาท  บัญชีค่ารับรองจำนวน 1,000 บาท บัญชีค่าไฟฟ้าจำนวน  2,000  บาทซึ่งทำให้ยอดทั้ง 2 ด้าน มียอดเท่ากัน ไม่มียอดคงเหลือ(แสดงยอดดุลเป็นศูนย์) โดยยอดที่ปิดไปจะเข้าไปอยู่
ในบัญชีกำไรขาดทุน(ซึ่งเป็นบัญชีที่เปิดขึ้นใหม่)     ทางด้านเดบิตด้วยจำนวน  13,000    บาท 
2554
ธ.ค.31    Dr. กำไรขาดทุน  (17,500 – 13,000)   303    4,500             
              Cr. ทุน – สมจิต         301                                       5,000

       

-                  ปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุน เป็นการหายอดคงเหลือในบัญชีกำไรขาดทุน โดยการหาผลรวมของ
จำนวนเงินทางด้านเดบิตและหาผลรวมของจำนวนเงินด้านเครดิต นำสองด้านมาลบกันเพื่อหาผลต่าง ถ้าผลรวมของจำนวนเงินทางด้านเดบิตมากกว่าผลรวมของจำนวนด้านเครดิตแสดงว่ามีผลขาดทุนสุทธิ (เพราะจำนวนเงินทางด้านเดบิตในบัญชีกำไรขาดทุนเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนจำนวนเงินทางด้านเครดิตในบัญชีกำไรขาดทุนเป็นรายได้ดังนั้นเมื่อจำนวนเงินด้านเดบิตมากกว่าจำนวนเงินด้านเครดิต แสดงว่าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้จึงมีผลขาดทุน) 
ถ้าผลรวมของจำนวนเงินทางด้านเดบิตน้อยกว่าผลรวมของจำนวนด้านเครดิตแสดงว่ามีผลกำไรสุทธิ (เพราะจำนวนเงินทางด้านเดบิตในบัญชีกำไรขาดทุนเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนจำนวนเงินทางด้านเครดิตในบัญชีกำไรขาดทุนเป็นรายได้ดังนั้นเมื่อจำนวนเงินด้านเดบิตน้อยกว่าจำนวนเงินด้านเครดิต แสดงว่าค่าใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้จึงมีผลกำไร)  




ลิงก์ข้อสอบ











    









การบัญชีเบื้องต้น1

เพื่อให้             1.   มีความเข้าใจหลักการ วิธีการ และขั้นตอนการจัดทำบัญชีสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ประเภท   ธุรกิบริการ ...